วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์กราฟิก

ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก



คำว่า กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก  2  คำคือ
          1.  Graphikos   หมายถึง  การวาดเขียน
          2.  Graphein   หมายถึง   การเขียน........กราฟิก  หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
          1. ภาพบิตแมพ  (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล  หรือจุดเล็กๆ  ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน  (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
          2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
      
   3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
          4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
          คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
 ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์


-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น


           ดังนั้น กราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว) ซึ่งต่างจาก 3 มิติ ซึ่ง 3 มิติ นั้นจะมีแกน Z (ความหนาหรือความสูง) เพิ่มเข้ามา ทำให้เราเห็นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
          ส่วนรูปแบบหรือนามสกุลไฟล์ก็จะเป็น format รูปภาพทั่วๆไป เช่น .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF, .WMF, .PNG เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้โปรแกรม Adobe Photoshop, Illustrator, Freehand, Firework, Microsoft Visio, CorelDraw, GIMP เป็นต้น
สำหรับประโยชน์ของงานกราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
- กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
          ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้

ประเภทของภาพกราฟิก
         1.ภาพราสเตอร์ (Raster )
               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง


     ตัวอย่าง      -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
                        -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
                       -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
    ข้อดีของภาพชนิด Raster
               -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้                -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
    นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster
นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

2.           ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster


         ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน
      โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
         โปรแกรม Illustrator
        -  CorelDraw
        -  AutoCAD
        -  3Ds max ฯลฯ
   

   นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector
นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
โปรแกรม Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw




เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการสร้างงานกราฟิกได้หลายประเภทดังนั้นจึงมีอุปกรณ์มากมายที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในงานกราฟิกที่พบเห็นกันบ่อยๆ มีดังนี้
อุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) 
สแกนเนอร์ (Scanner)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน หรือสแกนข้อมูลหรือภาพถ่ายบนเอกสารเข้าไปในเครื่อง โดยใช้แสงส่องกระทบวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ซึ่งข้อมูลจะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในแบบดิจิตอลเข้าไปเก็บในเครื่องพีซี เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไป ภาพที่ได้จะเป็นส่วนต่าง ๆ ของภาพ ต่อเนื่องกันไปทีละแถวของจุดจนกว่าจะสุดภาพ
กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
          เราสามารถถ่ายภาพในรูปแบบดิจิตอล ที่มีความละเอียดสูงโดยตรงจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ถึง 3-4 ล้านพิกเซลขึ้นไป ซึ่งเหมาะกับการใช้งานกราฟิก
จอสัมผัส (Touch Screen)
          เป็นหน้าจอที่ยอมให้ผู้ใช้ใช้นิ้วชี้ที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนูบนหน้าจอได้ งานที่นิยมใช้หน้าจอแบบทัชสกรีน เช่น เครื่อง ATM (Automate Teller Machines), ร้านขายยา, และซูเปอร์มาร์เก็ต
ปากกาแสง (Light Pen)
          เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ทำงานด้วยการตรวจจับแสงบนหน้าจอ CTR ของคอมพิวเตอร์ ใช้ในการคลิกเลือก และวาดบนหน้าจอเหมือนการใช้ Touch Screen แต่จะทำงานด้วยการตรวจจับแสงซึ่งใช้กับจอ CTR เท่านั่น ไม่สามารถทำงานกับจอ LCD หรือ Projector ได้

กระดานกราฟิก (Graphics Tablet)
          เป็นอุปกรณ์ที่รองรับการวาดภาพ ซึ่งสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง สนับสนุนกับโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น Photoshop, Illustrator เป็นต้น จึงทำให้เราสามารถวาดภาพ และแก้ไขภาพได้ ซึ่งจะแสดงผลเป็นภาพอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหน้าจอ TFT เหมือนเครื่อง Tablet PC ซึ่งเราสามารถวาดภาพอยู่บนหน้าจอแสดงผลได้โดยตรง
อุปกรณ์ในการแสดงผล (Output Devices) 
เครื่องพิมพ์ (Printer)
          เครื่องพิมพ์ที่ใช้แสดงผลงานลงบนกระดาษได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบเพื่อการนำไปใช้งานต่างกัน ดังนี้
เลเซอร์พรินเตอร์
          ทำงานโดยการยิงลำแสงเลเซอร์ เพื่อจัดเรียงผงหมึกให้เกิดเป็นภาพที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้แรงดันและความร้อนผลักให้หมึกจับตัวติดกับเนื้อกระดาษ ผลลัพธ์จะมีความละเอียดมากที่สุด และมีความเร็วสูงสุดในบรรดาเครื่องพิมพ์ทั้งหมด เครื่องพิมพ์เลเซอร์มี 2 แบบ คือ ขาว/ดำ และสี ซึ่งแบบขาว/ดำ จะมีราคาอยู่ที่หมื่นกว่าบาท นิยมใช้ในงานพิมพ์เอกสารในสำนักงาน ส่วนแบบสีจะมีราคาอยู่ที่แสนกว่าบาท ซึ่งเหมาะกับงานกราฟิกชั้นสูง
อิงค์เจ็ตพรินเตอร์ (Inkjet Printer)
          ใช้หลักการพ่นหมึกผ่านทางท่อพ่นหมึกเล็ก โดยให้เกิดจุดสีเล็กๆ เรียงต่อกันจนเกิดเป็นภาพ จะมีความละเอียดน้อยกว่าเลเซอร์นิดหน่อย ราคาเครื่องถูก แต่หมึกแพง และพิมพ์ช้ากว่าเลเซอร์จะเหมาะสำหรับงานสี อาร์ตเวิร์ค สิ่งพิมพ์ และถ่ายสติ๊กเกอร์ หากจะใช้พิมพ์งานเอกสารสำนักงานทั่วไปที่เป็นสีขาวดำ ราคาหมึกต่อแผ่นจะสู้ใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ไม่ได้ อีกทั้งความละเอียด และความเร็วน้อยกว่ามาก
ดอตเมทริกซ์พรินเตอร์ (Dot Matrix Printer)
          จะใช้หัวเข็มกระแทกลงบนแผ่นหมึกคาร์บอน ทำให้เกิดรอยหมึกเป็นข้อความและภาพ ดอตเมทริกซ์เป็นพรินเตอร์ที่มีความละเอียดต่ำ ราคาหมึกถูก ราคาเครื่องปานกลาง แต่พิมพ์ช้าและมีเสียงดัง ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่มีประโยชน์ในด้านการทำกระดาษไขสำหรับงาน โรเนียวเอกสารและการพิมพ์โดยซ้อนกระดาษ Carbon (แต่ยังมีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมากในหน่วยงานราชการทั่วไป)
พล็อตเตอร์ (Plotter)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วาดภาพบนกระดาษ โดยการรับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานแตกต่างจากพรินเตอร์ตรงที่พล็อตเตอร์จะวาดภาพโดยการวาดเป็นเส้น ด้วยปากกาแต่ละสีวาดผสมกัน ส่วนเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ลงมาเป็นจุดสีคละกันทำให้เรามองดูเกิดเป็นภาพ เราจะใช้พล็อตเตอร์ในการวาดแบบอาคาร หรือแบบทางวิศวกรรม ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรมออกแบบต่างๆ

โปรแกรมที่ใช้งานในด้านกราฟฟิกส์


โปรแกรมสำหรับกราฟฟิกถือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ ภาพถ่าย นักออกแบบ นักดีไซน์ นักทำโฆษณา สถาปนิค และอาชีพอื่นๆ เพราะการจะสร้างชิ้นงานหนึ่งชิ้นให้มีความสวยงาม เหมือนจริง น่าสนใจ ดึงดูดลูกค้า จำต้องมีการออกแบบ การคิด การวิเคราะห์ที่ดี และอีกอย่างคือเครื่องมือที่ใช้ นั้นก็คือโปรแกรมกราฟฟิกต่างๆ ในบทความนี้เราจะไปดูว่า โปรแกรมกราฟฟิกมีโปรแกรมอะไรบ้าง และนิยมนำไปใช้ในงานประเภทใด เริ่มกันเลยที่
1.โปรแกรมAdobe Photoshop
     สำหรับโปรแกรมนี้ในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมคลาสิก ที่่เกือบทุกเครื่อง จำเป็นต้องติดตั้งไว้ เพราะ Photoshop เป็นโปรแกรมในการออกแบบ การแต่งภาพ การใส่เอ็ฟเฟ็กยอดนิยม ด้วยความที่ใช้งานง่ายและมีเครื่องมีในการใช้งานมากมาย สามารถผลิตแผลงได้สารพัดประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการตัดต่อภาพ การแต่งภาพให้สวยขึ้น คมชัดขึ้น ขาวขึ้น  ในปัจจุบันโปรแกรม Adobe Photoshop  มีออกมาหลายเวอร์ชัน และยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

2.โปรแกรมAdobe Flash
     สำหรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำ Animation หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งใช้งานง่าย เพราะโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมากนัก ถือเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการหัดออกแบบภาพเคลื่อนไหว

3.โปรแกรมAdobe Illustrator
      โปรแกรมออกแบบโลโก้ ออกแบบภาพ เสริม เติม แต่งภาพ ระดับมืออาชีพ มีฟังก์ชันคล้ายกับPhotoshop แต่มีการทำงานที่เหนือชั้นกว่าในการออกแบบ โปรแกรมนี้อาจต้องลองศึกษาเพิ่มเติม แต่รับประกันว่าเป็นโปรแกรมที่ออกแบบภาพได้ดีเยี่ยมโปรแกรมหนึ่ง

4.โปรแกรมAdobe InDesign
     โปรแกรมนี้ผมนิยมใช้ในการออกแบบวารสาร นิตยสาร หน้าสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในตระกลู Adobe เหมือนกัน

5.โปรแกรมSweet Home 3D
     โปรแกรมที่สำหรับการออกแบบบ้าน ที่มีลักษณะการใช้งานง่ายๆ และไม่ยุ่งยากเลย โดยจะมีอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ให้เราได้เลือกจำนวนมากมาย และยังสามารถที่จะนำอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มได้ตลอด ซึ่งโปรแกรมรองรับไฟล์การ Import ได้หลายแบบ

6.โปรแกรมGoogleSketchUpWEN
     เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งในการใช้ออกแบบแปลนบ้าน ออกแบบโครงสร้างการก่อสร้าง เหมาะสำหรับนักสถาปนิคในการออกแบบ

7.โปรแกรมPhotoScapeSetup
     โปรแกรมตัดต่อภาพ เปลี่ยนแปลงภาพ เพิ่มแสงเงา ใส่กรอบ เพิ่มข้อความ สัญลักษณ์ ลดขนาดไฟล์ภาพ ออกแบบโลโก้อย่างง่าย เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้งาน เพราะใช้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือศึกษาโปรแกรม ด้วยโปรแกรมไม่ได้ซับซ้อนเหมือนกับโปรแกรมออกแบบอื่นๆ ติดตั้งแล้วลองใช้งานได้เลย



สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก

      โดยทั่วไปสีในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน  ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้นมีอยู่ด้วยกัน    4          ระบบคือ
1.ระบบสีแบบ RGB    ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ระบบสีแบบ CMYK            ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3.ระบบสีแบบ HSB    ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4.ระบบสีแบบ Lab      ตามมาตรฐานของ       CIE      ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ
1. ระบบสีแบบ RGB
        เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue)  ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นได้โดยปกติ และจุดที่สีทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่าแบบ “Additive” หรือการผสมสีแบบบวก ซึ่งเป็นการผสมสีขั้นที่ 1 หรือถ้านำเอา Red Green Blue มาผสมครั้งละ 2 สี ก็จะทำให้เกิดสีใหม่ เช่น

Blue     +     Green     =     Cyan
Red     +     Blue       =     Magenta
Red     +     Green     =     Yellow 

       แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องสว่างทั้งบนจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากการให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง



อ้างอิง - ภาพ http://www.urlnextdoor.com

2.ระบบสีแบบCMYK
      เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ (Black)  แต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color”  หรือการผสมสีแบบลบ หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนสีจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบRGBการเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบRGB
3.ระบบสีแบบHSB
      เป็นระบบสีพื้นฐานในการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ ประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ คือ
    - Hue คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา  0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆเป็นชื่อของสีเลยเช่นสีแดงสีม่วง          สีเหลือง
    - Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด   
    - Brightness คือ ระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด ยิ่งมีค่า Brightness มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น


อ้างอิง - ภาพ http://www.tomjewett.com

4.ระบบสีแบบ Lab
      ระบบสีแบบ Lab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’ Eclarirage) เพื่อให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่

   L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่100จะกลายเป็นสีขาว          A         เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง  B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง 


5  คุณสมบัติของคนทำกราฟิก

          งานกราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ใช้ ความสามารถเฉพาะตัวของนักออกแบบแต่ละคน บนพื้นฐานของหลักการทางศิลปะ แต่นอกเหนือจากความรู้ทางศิลปะแล้ว คนที่จะทำงานกราฟิกได้ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรอีกบ้าง
          1. ขยันฝึกหัด คนที่จะมีความชำนวญในการใช้โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องมีการฝึกหัดอย่างเป็นประจำ โดยอาจจะไม่ต้องเก่งหลายโปรแกรมก็ได้ เพียงให้รู้ลึกรู้จริงในโปรแกรมใดโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก็สามารถหาเลี้ยงตัว เองได้แล้ว ทั้งนี้สามารถฝึกด้วยตนเอง 3 วิธี
          1.1 ฝึกตามแบบ เป็นการฝึกตามหนังสือหรือบทความ เหมาะสำหรับการฝึกในระยะแรกเริ่ม เพราะเพียงแค่ลองทำตามเท่านั้น วิธีนี้ดี คือ ไม่ต้องคิดเอง ถือว่าเป็นก้าวแรกในการฝึกฝน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
          1.2 ฝึกตั้งโจทย์ ป็นการฝึกตัวเองให้ลองทำอะไรใหม่ๆ ตั้งโจทย์ใหม่ ๆ โดยอาจเป็นการตั้งโจทย์จากเครื่องมือ เช่นกำหนดว่าวันนี้เราจะฝึกใช้เครื่องมืออะไร ก็ฝึกใช้เครื่องมือนั้นให้มาก ใช้เครื่องมืออื่นเพียงแค่เสริมเท่านั้นพอ การฝึกแบบนี้ทำให้เรามีเพื้นฐานแน่น และรู้ลึกในเครื่องมือแต่ละชิ้น หรือจะฝึกตั้งโจทย์จากภาพก็ได้ โดยเลือกภาพขึ้นมาภาพหนึ่ง แล้วลองฝึกแต่งภาพนั้นแบบฟรีสไตล์ตามแต่จินตนาการของคุณ เมื่อฝึกด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ คุณจะคิดได้รวดเร็วขึ้น และสามารถมององค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งคือตั้งโจทย์สมมติ สมมติว่าลูกค้าให้โจทย์คุณมา เช่น ทำโปสเตอร์รณรงค์ให้คนไทยรักกัน หรือ ออกแบบแพ็กเกจปลาสลิดตากแห้ง เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณ เชื่อมต่อระหว่างศิลปะและธุรกิจได้ดีขึ้น
          1.3 ฝึกเลียนแบบ เป็นการฝึกโดยทำภาพเลียนแบบงานของคนอื่นให้เหมือนที่สุด โดยใช้คนละเทคนิค หรือคนละโปรแกรมกับต้นแบบ แต่ต้องให้ได้ภาพออกมา เหมือนกัน เหมือนได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน วิธีนี้ยากขึ้นกว่า 2 วิธีแรก คุณจะต้องมีความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ก่อน จากนั้นจึงวิเคราะห์ ประยุกต์ และดัดแปลงด้วยตนเองได้
          2. คิดสร้างสรรค์ การสร้างงานที่แตกต่าง แปลกใหม่ และโดดเด่น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงานศิลปะ จะสื่อสารอย่างไรให้ สะดุดตา สะดุดใจ ก็ต้องคิดริเริ่มทำขึ้นมา โดยอาจหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือออกไปเปิดหูเปิดตาภายนอก เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ อย่างเช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว เป็นต้น
          3. เซ็ทค่าเอาท์พุตให้สวย บางคนทำงานที่เครื่องของตัวเอง เซ็ทค่าสีไว้เสียสวยงาม แต่เวลาพิมพ์ออกมา หรือแสดงผลบนเครื่องของคนอื่นกลับไม่เหมือนอย่างที่ทำไว้ คนทำกราฟิกจึงต้องมีความรู้เรื่องการเซ็ทค่าเอาท์พุตให้สามารถแสดงสีออกมา ได้สวยงามเช่นเดียวกับที่เห็นหน้าจอมอนิเตอร์ สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก แต่ต้องระวังเรื่องของ Browser เนื่องจาก Browser ต่างค่ายก็จะแสดงผลที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็กเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็กเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน
          4. สนใจความเป็นไปรอบตัว การเป็นคนทันยุค ทันเหตุการณ์จะช่วยให้คุณสามารถเสริมลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปในงานของคุณ ทำให้งานของคุณดูทันสมัย แตกต่างจากคนอื่นในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็นดาวเด่นในพริบตาก็ได้
          5.กล้าที่จะลอง เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเรา จึงไม่อาจยึดติดอยู่กับเครื่องมือเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย การลองใช้ Software ใหม่ ๆ ที่มีการ Update อยู่เสมอจะทำให้เราได้ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
          จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์ หากล้วนแล้วแต่มาจากพรแสวงที่ทุกคนต้องขวนขวายมาเป็นอาวุธติดกาย เพื่อใช้ในการทำงานและพัฒนาผลงานกราฟิกของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

1 ความคิดเห็น: